Cookie Consent by Free Privacy Policy Generator website จำเป็นด้วยหรือที่เราจะต้องไล่ไขว่คว้าความก้าวหน้า เพื่อแลกกับความห่วงหาอาทร?
top of page
Search
  • Writer's pictureGeopolitics.Λsia

จำเป็นด้วยหรือที่เราจะต้องไล่ไขว่คว้าความก้าวหน้า เพื่อแลกกับความห่วงหาอาทร?

Updated: Oct 11, 2019

เรื่องหนึ่งที่จำเป็นจะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสิทธิบัตร ก็คือกำลังทางสังคมเรามีมากน้อยขนาดไหนที่จะดูแลคนด้อยโอกาส คนที่ไม่มีฐานะทางเศรษฐกิจเพียงพอที่จะสามารถหาซื้อยามารักษาดูแลโรคภัยไข้เจ็บที่ตนเองประสบอยู่ได้





ตัวอย่างเช่นยารักษาโรคเอดส์อย่าง "อิฟาไวเรนซ์" ภายใต้เครื่องหมายการค้า "SUSTIVA" ของบริษัท Bristol-Myers Squibb


"อีฟาไวเรนซ์ได้รับการอนุมัติโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐให้ใช้เป็นยาในปีค.ศ. 1998 ค่าใช้จ่ายในการใช้ยานี้ในประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ราว 10,000 ถึง 32,000 บาทต่อเดือน ส่วนค่าใช้จ่ายในสหรัฐสูงกว่า 6,700 บาทต่อเดือน และอาจสูงถึง 34,000 บาทต่อเดือน"


วันที่ 11 ธันวาคม 2549 เจมส์ เลิฟ ผู้อำนวยการโครงการเทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภคได้เขียนจดหมายถึงผู้แทนสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ระบุว่า "เราขอให้รัฐบาลสหรัฐงดการเข้าไปรบกวนการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในการที่จะในสิทธิบังคับเหนือสิทธิบัตรต่อยาอีฟาวิเรนซ์เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ มีข้อวิตกกังวลว่า USTR อาจใช้ข้อตกลง TRIPS ใน WTO มากดดันรัฐบาลไทยให้ทำการเจรจากับเจ้าของสิทธิบัตร หากเป็นเช่นนั้นการตัดสินใจแบบนั้นเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด"


ในปี 2550 องค์การเภสัชกรรมลงนามในสัญญาเพื่อนำเข้าอิฟาไวเรนซ์จำนวน 66,000 ขวดจากบริษัทอินเดียชื่อ Ranbaxy ทำให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถส่งมอบยา ต้นทุนของการผลิตยาแบบนี้อยู่ที่ 650 บาทต่อขวด ในขณะที่ราคายาตามปกติตกอยู่ที่ 1,400 บาทต่อขวด


รายงานข่าวจาก หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 28 ฉบับที่ 2,297 วันที่ 17-20 กุมภาพันธ์ 2551 ระบุว่า "หลังจากที่ น.พ.มงคล ณ สงขลา ประกาศทำซีแอลยา 3 รายการได้แก่ เอฟาไวเรนซ์ โลพินาเวียร์ และริโทนาเวียร์ ยาโคลพิโดเกรล ซึ่งเป็นกลุ่มยาต้านไวรัสเอชไอวีและยาละลายลิ่มเลือดหัวใจเมื่อต้นปี 2550 พอถึงกลางปีสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (ยูเอสทีอาร์) ได้ประกาศรายงาน “สเปเชียล 301” เลื่อนสถานะประเทศไทยจากประเทศถูกจับตามอง (Watch List : WL) เป็นประเทศถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Priority WatchList :PWL)


"ซึ่งต้องมีการเจรจาและปฏิบัติตามเงื่อนไขสหรัฐฯอย่างเข้มข้นเพื่อให้หลุดจากบัญชี โดยเฉพาะการลดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาไม่เช่นนั้นจะเลื่อนสถานะขึ้นไปอีกเป็นบัญชี (Priority Foreign Country :PFC) ซึ่งบัญชีนี้อาจถูกตอบโต้ทางการค้าถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ได้ ทันทีที่ยูเอสทีอาร์เลื่อนสถานะประเทศไทย สังคมไทยได้นำประเด็นของการทำซีแอลยาไปผูกโยงเข้ากับเรื่องของสถานะประเทศไทยที่สหรัฐฯ จัดให้


"และมีความกังวลว่าการทำซีแอลจะทำให้ประเทศไทยถูกตัดจีเอสพีและทำให้ประเทศชาติสูญเสียรายได้จากการส่งออกปีละจำนวนหลักแสนล้านบาท การทำซีแอลยาประเทศไทยสามารถทำได้ไม่ขัดกฎหมายระหว่างประเทศและไม่ขัดกับข้อตกลงด้านทรัพย์สินย์ทางปัญญาขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยเหตุผลเพื่อการใช้ของรัฐบาลซึ่งกระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่าเพื่อใช้ในโรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น


"ซึ่งในขอบข่ายนี้ในแง่ของกฎหมายทำได้ แต่ในแง่ของทำนองคลองธรรมเป็นอีกเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการค้าระหว่างประเทศเรื่องทำนองคลองธรรมมีความสำคัญถูกกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ ในส่วนของการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ ทั้งหมด โดยอัตราภาษีเฉลี่ยนำเข้าปกติสินค้าที่สหรัฐฯให้จีเอสพีอยู่ประมาณ 5% ดังนั้นเท่ากับว่าหากไทยไม่ได้รับจีเอสพีจากสหรัฐฯสินค้าไทยต้องเสียภาษีนำเข้าเฉลี่ยแค่ 5% ซึ่งถ้าสหรัฐฯ จะยกเลิกจีเอสพี ประเทศไทยก็ไม่สามารถเรียกร้องใดๆ ได้ แต่พันธกรณี WTO สหรัฐฯไม่สามารถยกเลิกกับไทยได้"



ภาพโครงสร้างโมเลกุลของยาอิฟาไวเรนซ์


ในปี 2561 องค์การเภสัชกรรมไทยได้ประกาศว่าจะผลิตยาอิฟาไวเรนซ์ขนาด 600 มิลลิกรัมจำนวน 30 เม็ดจำหน่ายในราคาขวดละ 180 บาท องค์การเภสัชกรรมจะใช้กำลังการผลิตราว 2.5% เพื่อผลิตอิฟาไวเรนซ์จำนวน 42 ล้านเม็ด ฟิลิปปินส์จะสั่งซื้ออิฟาไวเรนซ์จากองค์การเภสัชกรรมจำนวน 3 แสนขวดในราคา 51 ล้านบาท


จุดสมดุลในเรื่องนี้อยู่ที่ไหน จะมองเรื่องอุตสาหกรรมยาและนโยบายสาธารณสุข (รวมไปถึงเรื่องมหาวิทยาลัยและการศึกษา) เป็นกิจการของ "เอกชน" หรือ "รัฐบาล"? เราจะมุ่งประโยชน์อยู่เฉพาะคนที่ได้เปรียบทางเศรษฐกิจ มือใครยาวสาวได้สาวเอา หรือเราจะ "ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" แล้วต้นทุนนั้นจะมีเพียงพอต่อภาระงบประมาณแผ่นดินหรือไม่ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ?

---


ติดตามการพูดคุย เรื่องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร ในเรื่องเข้มข้นอย่างนี้ และ ข้อเสนอนโยบายที่มีผลต่อเศรษฐกิจบนฐานความรู้ต่อประเทศอาเซียน รวมไปถึงผลกระทบต่อนโยบายสาธารณะ (กล่าวปาฐกถานำโดย คุณ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ในวันที่ 2 ตุลาคม นี้ 8.30 - 12.00 ที่โรงแรมคอนราด สามารถลงทะเบียนรับบัตรผ่านฟรี (มีจำนวนจำกัด) ได้ที่ https://www.eventpop.me/e/6786-asean-ipr-for-progress

0 comments
bottom of page